การเชื่อมต่อ Asterisk กับ E1 PRI ตอนที่ 1 ฮาร์ดแวร์

Asterisk Opensource IP Pbx

การเชื่อมต่อ Asterisk กับ E1 PRI ตอนที่ 1 ฮาร์ดแวร์

โพสต์โดย voip4share » 22 ก.พ. 2010 15:46

การเชื่อมต่อ Asterisk กับ PSTN แบบ E1 PRI

E1 เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารความเร็วสูงประเภทหนึ่ง เป็นมาตรฐานของทวีปยุโรปและแพร่หลายในประเทศไทย ผู้ให้บริการโทรศัพท์ทุกค่ายในประเทศไทยมีการเชื่อมต่อด้วย E1 เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการเบอร์โทรศัพท์ที่มีจำนวนช่องสัญญาณมากๆ E1สามารถรับส่งได้ทั้งเสียงและข้อมูลแต่ส่วนใหญ่จะใช้กับเสียง สาย E1 หนึ่งเส้นมีความเร็ว 2.048 Mbps เมื่อใช้กับการรับส่งสัญญาณเสียงพูดจะถูกแบ่งออกเป็น 32 ไทม์สล๊อต (แต่ส่วนใหญ่จะเรียกไทม์สล๊อตว่า แชนแนล) มีลำดับตั้งแต่ไทม์สล๊อตที่ 0 จนถึง 31 มีความเร็วหรือแบนวิดธ์ไทมส์ล๊อตละ 64 Kbps แต่ใช้รับส่งสัญญาณเสียงได้จริงๆแค่ 30 ไทม์สล๊อตเท่านั้นนะครับ เพราะมีการกันไทม์สล๊อตไว้เพื่อรับส่งสัญญาณคล๊อกและสัญญาณควบคุมด้วย ไม่เช่นนั้นมันก็จะมั่วหน่ะครับ

ในกรณีของ E1 แบบ ISDN PRI ไทม์สล๊อตหรือแชลแนลที่ใช้รับส่งสัญญาณเสียงพูดมีชื่อเรียกต่างหากว่า B Channel มีจำนวน 30 ไทม์สล๊อตเช่นเดียวกับ E1 ที่รับส่งสัญญาณเสียงทั่วๆไป มีลำดับตั้งแต่ไทม์สล๊อตที่ 1 - 15 และ 17 - 31 ไทม์สล๊อตที่ 0 ใช้ไปเพื่อรับส่งสัญญาณคล๊อกหรือ Timing และ CRC ให้สองฝั่ง Sync กัน จะได้มีจังหวะการรับและส่งที่สอดคล้องกับ จังหวะเดียวกัน ส่วนไทม์สล๊อตที่ 16 จะใช้เพื่อการทำการควบคุมหรือ Signaling เช่นการทำ Call Setup ตอนเริ่มโทร Call Teardown ตอนวางสาย เป็นต้น ไทม์สล๊อตที่ 16 นี้นะครับซึ่งมีชื่อเรียกต่างหากว่า D Channel

การเชื่อมต่อพอร์ต E1 แบบ Physical
เป็นการเชื่อมต่อสายกับชุมสายของ TOT, TT&T, TRUE หรือ PBX โดยทั่วไปทางผู้ให้บริการจะเดินสาย E1 มา 2 เส้น เส้นหนึ่งเป็น Tx (Transmit) อีกเส้นเป็น Rx (Receive) เวลาเอามาต่อกับพอร์ต E1 ก็ต้องต่อให้ถูกด้วยนะครับ โดยเอา Tx ชนกับ Tx และ Rx ชนกับ Rx ไม่ต้องเป็นห่วงว่ามันจะทำงานไม่ได้นะครับ เพราะว่าเวลาเราเอา E1 ของชุมสายมาต่อกับ E1 ของการ์ด ฝั่งหนึ่งเป็น Network และอีกฝั่งเป็น CPE หรือ User ซึ่งฝั่ง Network มันจะส่งออกทางขา Tx และรับเข้าทางขา Rx แต่ฝั่ง User จะรับเข้ามาทาง Tx และจะส่งออกไปทาง Rx มันจะตรงกันข้าม คงไม่งงนะครับ :D
ส่วนเรื่องของ Clock ก็สำคัญเหมือนกันไม่อย่างนั้นมันจะไม่ Sync กัน ฝั่งหนึ่งต้องจ่าย Clock อีกฝั่งต้องรับ Clock เซ็ตให้จ่ายทั้งคู่ไม่ได้นะครับเพราะมันจะชนกัน กลายเป็นเกิด Clock Slip ใช้งานแล้วมีปัญหาอีก
จากที่ได้กล่าวถึงในตอนต้นว่าผู้ให้บริการจะเดินสายมา 2 เส้นต่อ 1 E1 สายจะเป็นชนิด Coaxial มีอิมพีแดนซ์ 75 โอห์ม (เป็นแบบ Balanced) พร้อมเข้าหัวแล้วแบบ BNC แต่ E1 บนการ์ดของเรามีขั้วต่อแบบ RJ-48 ซึ่งมีอิมพีแดนซ์ 120 โอห์ม (เป็นแบบ Unalance) ซึ่งไม่แม๊ตซ์กัน ถ้าเอามาต่อกันโดยไม่มีตัวแปลง มันจะเกิดการสูญเสีย (Loss) ของสัญญาณมาก เราต้องทำให้แม๊ตซ์กันโดยใช้ตัวแปลงอิมพีแดนซ์ซึ่งเรียกว่า บาลัน (BALUN ย่อมาจาก Balance/Unbalance) แต่เวลาไปซื้อต้องบอกคนขายว่าเอา G.703 BALUN นะครับ เดี๋ยวเขาหยิบ BALUN ที่ใช้กับงาน Video มาให้ มันใช้ไม่ได้
ขั้วต่อ RJ-48 มันก็เหมือนกับ RJ-45 ที่เราใช้เข้าสาย LAN นั่นแหล่ะครับ แต่ผมคิดว่าเขาเรียกให้มันแตกต่างกันซะมากกว่า แต่ผมก็เห็นฝรั่งเรียกบางทีก็ RJ-45 บางทีก็ RJ-48 สรุปคือเรียกอะไรก็ได้ครับ ตามถนัด

BNC ตัวผู้
bnc-small.png
BNC - Male
bnc-small.png (14.67 KiB) เปิดดู 11857 ครั้ง

BNC ตัวเมีย
bnc-female-small.png
BNC Female
bnc-female-small.png (11.92 KiB) เปิดดู 11857 ครั้ง

ตัวแปลง I-Connector เผื่อต้องใช้ถ้าหัว BNC ที่จะนำมาต่อกันเป็นตัวผู้ทั้ง 2 ด้าน
i-connector-small.png
I-Connector
i-connector-small.png (12.4 KiB) เปิดดู 11857 ครั้ง

G.703 Balun มีด้าน BNC เป็นตัวเมีย
g.703-balun-small.png
G.703 Balun with BNC Femail
g.703-balun-small.png (17.33 KiB) เปิดดู 11857 ครั้ง

G.703 Balun มีด้าน BNC เป็นตัวผู้
g.703-balun-bnc-male-small.png
G.703 Balun with BNC Male
g.703-balun-bnc-male-small.png (35.06 KiB) เปิดดู 11857 ครั้ง

ตามปกติผู้ให้บริการจะเดินสาย BNC เป็นตัวผู้ทั้ง 2 เส้น เราก็ซื้อ G.703 Balun ที่ด้าน BNC เป็นตัวเมีย (Female) มันก็จะเข้ากันได้พอดีครับ

สายต่อจากเข้าพอร์ต E1 บนการ์ด
จะเห็นว่าด้าน 120 โอห์มของ BALUN เป็น RJ-48 ตัวเมีย เราก็ทำสาย LAN มา 1 เส้น เข้าสายแบบขา 1 ไป 1, 2 ไป 2,...,8 ไป 8 ตรงๆเลย ในจำนวน 8 เส้นนี้ใช้งานแค่ 4 เส้นนะครับ คือขา 1 (RX Ring), 2 (RX Tip), 4 (TX Ring) และ 8 (TX Tip)

ฮาร์ดแวร์การ์ด E1
ปัจจุบันนี้มีผู้ผลิตมากมายที่ผลิตการ์ด E1 ออกมาใช้กับ Asterisk เช่น Digium, ATCOM, Sangoma, OpenVox, Rhino เป็นต้น การ์ดเหล่านี้จะมีบัสอยู่ 2 แบบคือ PCI (แบ่งออกเป็น PCI 5 โวลต์ และ PCI 3.3 โวลต์) และ PCI Express เวลาเลือกซื้อก็ต้องดูด้วยนะครับว่าเครื่องที่ลง Asterisk มันรองรับบัสแบบไหน เดี๋ยวซื้อมาผิดประเภท
การ์ด E1 ที่มีขายในขณะนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือการ์ดที่ไม่มีโมดูลกำจัดเสียงสะท้อน (Echo Canceller) และการ์ดที่มีโมดูลกำจัดเสียงสะท้อน ซึ่งถ้าเกิดเสียงสะท้อนเราจะได้ยินเสียงของเราสะท้อนกลับมา สร้างความน่ารำคาญพอสมควร แต่ก็ไม่ใช่ว่าเสียงสะท้อนมันจะเกิดขึ้นทุกครั้ง อาจจะไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้นะครับ ราคาการ์ดประเภทหลังนี้จะแพงกว่า แต่ถ้าราคาการ์ดทั้งสองแบบแตกต่างกันมากและมีงบไม่พอ ก็ไม่ต้องง้อการ์ดประเภทที่สองก็ได้ครับ ใช้ Echo Canceller ที่เป็นซอฟท์แวร์ก็ได้ เช่น OSLEC หรือที่มีมาพร้อมกับ DAHDI ก็ได้ เช่น MG2, SEC, SEC2 เป็นต้น
ตัวอย่างการ์ด E1 แบบ 2 พอร์ต และ 4 พอร์ต

te220-small.jpg
2-Port E1 Interface Card
te220-small.jpg (5.21 KiB) เปิดดู 11857 ครั้ง

te412p-small.jpg
4-Port E1 Interface Card
te412p-small.jpg (6.37 KiB) เปิดดู 11857 ครั้ง


ตัวอย่างการ์ด E1 จากผู้ผลิต
Digium
รายชื่อการ์ด Digital T1/E1/J1 Digium เรียก Port ว่า Span การ์ดเหล่านี้ใช้เชื่อมต่อได้ทั้งแบบ E1, T1 และ J1 ครับ
TE410P - Quad Span T1/E1/J1 Card, PCI 3.3v Bus
TE412P - Quad Span T1/E1/J1 Card with Echo Canceller, PCI 3.3v Bus
TE405P - Quad Span T1/E1/J1 Card, PCI 5v Bus
TE407P - Quad Span T1/E1/J1 Card with Echo Canceller, PCI 5v Bus
TE420 - Quad Span T1/E1/J1 Card, PCI Express Bus
TE420B - Quad Span T1/E1/J1 Card with Echo Canceller, PCI Express Bus
TE210P - Dual span T1/E1/J1 Card, 3.3v PCI
TE212P - Dual span T1/E1/J1 Card with Echo Canceller, 3.3v PCI
TE205P - Dual Span T1/E1/J1 Card, PCI 5v Bus
TE207P - Dual Span T1/E1/J1 Card with Echo Canceller, PCI 5v Bus
TE220 - Dual Span T1/E1/J1 Card, PCI Express Bus
TE220B - Dual Span T1/E1/J1 Card with Echo Canceller, PCI Express Bus
TE121P - Single Span T1/E1/J1 Card, PCI Express Bus
TE121B - Single Span T1/E1/J1 Card with Echo Canceller, PCI Express Bus
TE122P - Single Span T1/E1/J1 Card, PCI 3.3v or 5.5v Bus
TE122B - Single Span T1/E1/J1 Card with Echo Canceller, PCI 3.3v or 5.5v Bus

OpenVox
มีการ์ดให้เลือกแบบ 1, 2 และ 4 พอร์ต มี Hardware Echo Cencaller และไม่มี บัสอินเตอร์เฟสแบบ PCI และ PCI Express
• DE115E, DE115P, D110E, D110P, D115E, D115P, DE210E, D210E, DE210P, D210P, DE410E, D410E, DE410P, D410P

Sangoma
• A101 (1-Port), A102 (2-Port), A104 (4-Port), A108 (8-Port)

Rhino
• R1T1, R1T1-e, R2T1, R2T1-e, R4T1, R4T1-e

Atcom
• AX1E, AX4E

ติดตั้งการ์ด E1 ในเครื่อง
วิธีการก็เหมือนกับติดตั้งการ์ดอื่นโดยทั่วๆไปครับ ใส่เข้าไปใน Slot ที่ยังว่างอยู่ ขันน๊อตให้แน่น แล้วปิดฝาเคส

ติดตามตอนที่ 2 คอนฟิก DAHDI + Asterisk

บทความที่เกี่ยวข้อง
เทคนิคการติดตั้งการ์ด 2 E1 บน Elastix
การติดตั้งและใช้งานการ์ด 1 E1 TE110P บน Elastix
เทคนิคการติดตั้งการ์ด 4 E1 รุ่น TE405P บน Elastix
voip4share
Administrator
 
โพสต์: 656
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 พ.ย. 2009 11:26
ที่อยู่: รามคำแหง กรุงเทพฯ

ย้อนกลับไปยัง Asterisk SIP Server

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน