โปรแกรม Asterisk มีไว้ทำอะไร?

Asterisk Opensource IP Pbx

โปรแกรม Asterisk มีไว้ทำอะไร?

โพสต์โดย voip4share » 15 ธ.ค. 2009 10:12

Asterisk เป็นโปรแกรมประเภท Voice Communication Server ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก เริ่มพัฒนาเมื่อปี 1999 ทำหน้าที่เป็น VoIP Server และขณะเดียวกันก็สามารถทำงานเป็น VoIP Client ได้อีกด้วย (ทำงานในเป็น Client หรือเครื่องลูก ของ VoIP Server อื่น)

Asterisk เป็นโปรแกรมแบบ Open Source ภายใต้เงื่อนไขของ GPL เราสามารถดาวน์โหลดไปติดตั้งได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และสามารถแก้ไขซอร์สโค๊ดของโปรแกรมได้ตามที่ต้องการ โปรแกรมนี้ที่มีชื่อเสียงมากครับ เรียกได้ว่าถ้าเราจะเข้ามาในวงการ VoIP เราจะต้องทำความรู้จักกับโปรแกรมนี้ครับ อย่างน้อยๆก็ระดับพื้นฐาน :D

การทำงานเป็น VoIP Server
Asterisk สามารถทำงานเป็น VoIP Server ได้ โดยตัวมันสามารถเป็น Server ได้ 2 เทคโนโลยีคือ SIP และ IAX2 โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมอื่นมาช่วย แต่ถ้าหากเราต้องการ


การทำงานเป็น VoIP Client
Asterisk สามารถทำงานเป็น VoIP Client ได้ด้วย โดยมันสามารถไปริจิสเตอร์กับ VoIP Server อื่นไม่ว่าจะใช้ SIP หรือ IAX ก็ตาม

ระบบปฏิบัติการที่รองรับ
โปรแกรม Asterisk จะทำงานได้ดีและเสถียรบนระบบปฏิบัติการ Unix/Linux ครับ รันได้บน Unix/Linux ทุกค่าย ไม่ว่าจะเป็น CentOS (ตัวนี้ผมชอบมาก และในเว็บไซต์แห่งนี้ผมจะอ้างอิงถึง Linux ตัวนี้), Redhat Enterprise Linux (RHEL), Fedora, *BSD, SuSe, Ubuntu และอื่นๆ นอกจากนั้นยังทำงานบน MAC OS X และ Sun ได้ด้วย แต่สำหรับบน Windows ถึงแม้ว่าในขณะนี้ได้มี Asterisk for Windows ออกมาแล้ว แต่ยังไม่เสถียรเท่าไหร่ครับ อีกทั้งโปรแกรมที่รันบน Windows ก็ยังต้องต้องใช้ทรัพยากรระบบที่มากมายกว่า Linux มากครับ

ใครเป็นเจ้าของ Asterisk
Asterisk เป็นของบริษัท Digium Inc. นะครับ เริ่มแรกผู้ที่เขียนซอร์สโค๊ดของ Asterisk ขึ้นมาก็คือ "Mark Spencer" จากบริษัท Digium Inc และต่อมาได้มีผู้ร่วมพัฒนาหลายคนจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อเพิ่มเติมความสามารถของ Asterisk รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดจากบัคอีกด้วย เวอร์ชั่นปัจจุบันคือ "1.6.1" ครับ

Asterisk รองรับการเชื่อมต่อหลายรูปแบบ
ด้วยการที่ Asterisk สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบนี่เอง เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีผู้หันมาใช้ Asterisk กันมาก โดยที่ Asterisk สามารถเชื่อมต่อกับเบอร์โทรศัพท์ได้ ไม่ว่าจะเชื่อมต่อแบบ Analog หรือแบบ Digital ก็ตาม เช่น FXS, FXO, E1, T1, ISDN เป็นต้น โดยเชื่อมต่อผ่านทางการ์ดอินเตอร์เฟสที่ติดตั้งลงไปในคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Asterisk ไว้ ปัจจุบันมีผู้ผลิตการ์ดอินเตอร์เฟสเพื่อมาสนับสนุน Asterisk อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Digium Inc, Sangoma, OpenVox, ATCOM เป็นต้น
นอกจากการรองรับกับการ์ดอินเตอร์เฟสต่างๆแล้ว Asterisk ยังรองรับโปรโตคอล VoIP หลายแบบด้วย เช่น SIP, IAX2, H.323 เป็นต้น ทำให้เรานำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

ใช้ Asterisk ทำอะไรได้บ้าง
ผู้ที่นำ Asterisk ไปใช้งาน ส่วนใหญ่จะใช้งานในลักษณะดังต่อไปนี้
1. ทำเป็น IP PBX
2. ทำเป็น Gateway
3. ทำเป็น Call Center
4. ทำเป็น VoIP Server ให้บริการแก่สาธารณะ

ความสามารถของ Asterisk

1. ด้านการโทร
ADSI On-Screen Menu System
Alarm Receiver
Append Message
Authentication
Automated Attendant
Blacklists
Blind Transfer
Call Detail Records
Call Forward on Busy
Call Forward on No Answer
Call Forward Variable
Call Monitoring
Call Parking
Call Queuing
Call Recording
Call Retrieval
Call Routing (DID & ANI)
Call Snooping
Call Transfer
Call Waiting
Caller ID
Caller ID Blocking
Caller ID on Call Waiting
Calling Cards
Conference Bridging
Database Store / Retrieve
Database Integration
Dial by Name
Direct Inward System Access
Distinctive Ring
Distributed Universal Number Discovery (DUNDi™)
Do Not Disturb
E911
ENUM
Fax Transmit and Receive (3rd Party OSS Package)
Flexible Extension Logic
Interactive Directory Listing
Interactive Voice Response (IVR)
Local and Remote Call Agents
Macros
Music On Hold
Music On Transfer:
- Flexible Mp3-based System
- Random or Linear Play
- Volume Control
Predictive Dialer
Privacy
Open Settlement Protocol (OSP)
Overhead Paging
Protocol Conversion
Remote Call Pickup
Remote Office Support
Roaming Extensions
Route by Caller ID
SMS Messaging
Spell / Say
Streaming Media Access
Supervised Transfer
Talk Detection
Text-to-Speech (via Festival)
Three-way Calling
Time and Date
Transcoding
Trunking
VoIP Gateways
Voicemail:
- Visual Indicator for Message Waiting
- Stutter Dialtone for Message Waiting
- Voicemail to email
- Voicemail Groups
- Web Voicemail Interface
Zapateller

2. การเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ คอลเซ็นเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา
AGI (Asterisk Gateway Interface)
Graphical Call Manager
Outbound Call Spooling
Predictive Dialer
TCP/IP Management Interface

3. Scalability
TDMoE (Time Division Multiplex over Ethernet)
Allows direct connection of Asterisk PBX
Zero latency
Uses commodity Ethernet hardware
Voice-over IP
Allows for integration of physically separate installations
Uses commonly deployed data connections
Allows a unified dialplan across multiple offices

4. Asterisk รองรับ Codecs อะไรบ้าง
ADPCM
G.711 (A-Law & μ-Law)
G.722
G.723.1 (pass through)
G.726
G.729 (through purchase of a commercial license)
GSM
iLBC
Linear
LPC-10
Speex
h.261
h.263
h.263p
h.264
vp8
vp9
mpeg4

5. Asterisk รองรับ VoIP Protocols อะไรบ้าง
SIP (Session Initiation Protocol)
IAX™ (Inter-Asterisk Exchange)
H.323
MGCP (Media Gateway Control Protocol
SCCP (Cisco® Skinny®)

6. การเชื่อมต่อกับโทรศัพท์พื้นฐาน
Traditional Telephony Protocols
E&M
E&M Wink
Feature Group D
FXS
FXO
GR-303
Loopstart
Groundstart
Kewlstart
MF and DTMF support
Robbed-bit Signaling (RBS) Types
MFC-R2 (Not supported. However, a patch is available)

7. มาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ PRI Protocols
4ESS
BRI (ISDN4Linux)
DMS100
EuroISDN (ประเทศไทยใช้ เชื่อมต่อกับ TOT/CAT ใช้โปรโตคอลนี้)
Lucent 5E
National ISDN2
NFAS
Q.SIG (มักเชื่อมต่อกับตู้สาขาโทรศัพท์)
voip4share
Administrator
 
โพสต์: 656
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 พ.ย. 2009 11:26
ที่อยู่: รามคำแหง กรุงเทพฯ

ย้อนกลับไปยัง Asterisk SIP Server

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน

cron