ศัพท์แสงในโลกของ PBX/PABX/IP PBX

Elastix IP Pbx

Moderator: jubjang

ศัพท์แสงในโลกของ PBX/PABX/IP PBX

โพสต์โดย voip4share » 10 ธ.ค. 2009 20:06

ผมจะแนะนำศัพท์เทคนิคที่มักจะใช้เมื่อพูดถึงตู้สาขาโทรศัพท์ หรือ PBX หรือ PABX หรือแม้กระทั่ง IP PBX เพื่อมือใหม่ทั้งหลายจะได้เข้าใจและนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องแบบมืออาชีพ เพราะปกติแล้วทำความเข้าใจค่อนข้างยากครับ โดยเฉพาะมือใหม่

ติดตั้ง Elastix

1. ตู้สาขาโทรศัพท์ (PBX: Private Branch Exchange หรือ PABX:Private Automatic Branch Exchange)
เป็นอุปกรณ์ทีมีพอร์ตโทรศัพท์หลายๆแบบ เช่นพอร์ตสายใน (Extension) พอร์ตสายนอก (CO Line) พอร์ต E1 เป็นต้น ทำให้ภายในบ้านหรือสำนักงานติดต่อกันได้โดยไม่ต้องเดินมาคุยที่โต๊ะ ให้สามารถติดต่อภายนอกได้ และภายนอกติดต่อเข้ามาได้

2. เบอร์ภายใน (Extension)
เป็นเบอร์ต่อภายในของตู้สาขาโทรศัพท์ เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Extension เบอร์ภายในปกติจะมี 2 หลัก 3 หลัก 4 หลัก หรือไม่ก็ 5 หลัก ตามจำนวนของพนักงานในบริษัท เช่นคุณกิ๊กเป็นพนักงานบัญชีของบริษัทแห่งหนึ่ง เบอร์ต่อที่โต๊ะคือ 100 เบอร์นี้ก็คือเบอร์ Extension ของตู้สาขาที่บริษัท

สายโทรศัพท์ที่ลากจากพอร์ตสายในมายังโต๊ะ จะมีอยู่ 2 เส้น เส้นหนึ่งเรียกว่า Tip อีกเส้นเรียกว่า Ring เมื่อเอามิเตอร์ไปวัดดูก็จะได้แรงดันไฟกระแสตรงประมาณ 24 โวลต์บ้าง 48 โวลต์บ้าง ถ้าได้ค่าเป็น - ก็กลับขั้วมิเตอร์ก็จะได้ค่า + เอามือจับได้ไม่เป็นอันตราย (ใช้มือนะครับ) เมื่อเอาเครื่องโทรศัพท์ธรรมดามาต่อไฟก็จะถูกจ่ายให้แก่เครื่องโทรศัพท์ และก็จะใช้งานโทรออกหรือรับสายเข้าได้

ตู้สาขาโทรศัพท์มีจำนวนเบอร์ภายในแตกต่างกันออกไปตามยี่ห้อ และรุ่น บางรุ่นก็เพิ่มได้ บางรุ่นก็เพิ่มไม่ได้ โดยทั่วไปเมื่อเรารู้ชื่อรุ่นของตู้สาขา เราก็เดาจำนวนเบอร์ภายในได้ไม่ยาก เช่น 816 ตัวเลขสองหลักด้านหลังคือจำนวนเบอร์ภายใน คือ 16 พอร์ต ซึ่งอาจจะขยายได้ถึง 16 พอร์ต หรือมี 16 พอร์ตเต็มแล้ว ก็ได้

3. พอร์ตสายนอก (CO Line)
พอร์ตสายนอก หรือที่ช่างโทรศัพท์เรียกว่า CO Line คำว่า CO ย่อมาจาก Central Office เป็นคำที่ใช้เรียกพอร์ตสำหรับต่อกับเบอร์โทรศัพท์ของ TOT, TRUE, TT&T ครับ และเป็นแบบอนาล๊อกด้วยนะครับ ตู้สาขาโทรศัพท์โดยทั่วไปจะมีพอร์ต CO Line ไม่มากนัก เช่น 1, 2, 4, 5, 8, 12, 24 พอร์ตเป็นต้น ตู้ขนาด 8 CO ขึ้นไปนี่ถือว่าเป็นตู้ปานกลางแล้วครับ
ถ้าเราเอามิเตอร์ไปวัดที่พอร์ต CO Line จะไม่มีแรงดันอะไรขึ้นมาให้เห็นครับ มันจะรับแรงดันไฟมาจากเบอร์โทรศัพท์ของ TOT, TRUE, TT&T ที่นำมาต่อ
ปัจจุบันซึ่งเทคโนโลยี VoIP ได้เข้ามามีบทบาทต่อการสื่อสาร ถ้าจำเป็นต้องเชื่อมต่อตู้สาขากับอุปกรณ์ VoIP Gateway ด้วยพอร์ต CO Line ก็ให้ต่อกับพอร์ต FXS ของ VoIP Gateway นะครับ

4. ทรั้งก์ (Trunk)
เป็นลิ้งค์ที่เชื่อมต่อออกไปภายนอก เช่นเชื่อมต่อตู้สาขา หรือ IP PBX กับผู้ให้บริการโทรศัพท์ เพื่อโทรออกหรือรับสายเข้าจากภายนอก หรือเชื่อมไปยังอีกตู้สาขาหนึ่ง ปกติจะเชื่อมด้วย E1 หรือ FXS หรือ FXO หรือ E&M หรือ IP

5. การโอนสาย (Call Transfer)
การโอนสายจากเบอร์หนึ่งไปยังอีกเบอร์หนึ่ง มีด้วยกัน 2 แบบคือ Blind Transfer (โอนแล้วโอนเลย ไม่สนใจว่าปลายทางจะมีมีคนรับหรือไม่) และ Attended Transfer (โอนแล้วยังสามารถดึงกลับมาได้ หรือคุยกับปลายสายก่อนได้) การโอนสายแบบนี้คนจะเป็นผู้ทำการโอน

6. การรับสายแทน (Call Pickup)
เป็นการดึงสายของเบอร์อื่นมารับแทน ปกติสายที่จะดึงมาได้ต้องอยู่ในกรุ๊ปเดียวกันกัน

7. การฟอร์เวอร์ดสาย (Call Forward)
เป็นการโอนสายโดยให้ระบบเป็นผู้โอน เช่น ตู้สาขา หรือ IP PBX เป็นต้น โอนสายไปยังอีกเบอร์หนึ่ง ซึ่งปกติการโอนสายจะมีอยู่ 3 เงื่อนไขในการโอนคือ Unconditional Call Forward (โอนโดยไม่มีเงื่อนไข คือถ้ามีสายเรียกเข้ามาก็จะโอนไปอีกเบอร์ที่คอนฟิกไว้ทันที), Busy Call Transfer (โอนสายเมื่อเบอร์ไม่ว่าง) และ Unavailable Call Transfer (โอนสายเมื่อไม่รับสายภายในเวลาที่กำหนด)

8. IVR
IVR หรือ Interactive Voice Response เป็นระบบตอบรับอัตโนมัติและสามารถนำเราไปยังเบอร์ภายในที่ต้องการได้ หรือฟังข้อมูลบริการต่างๆ และเราสามารถโต้ตอบกับระบบได้โดยกดปุ่มใดๆบนแป้นโทรศัพท์ที่กำหนดไว้

9. DISA
เป็นระบบตอบรับคล้ายๆกับ IVR แต่จะไม่มีเสียงตอบรับ เมื่อเราโทรเข้าระบบ DISA เราสามารถกดไปยังเบอร์ไหนก็ได้ที่กำหนดไว้

10. PSTN (Public Switch Telephone Network)
เป็นโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์ออฟฟิศ

11. เบอร์โทรศัพท์แบบอนาล๊อก (Analog)

12. เบอร์โทรศัพท์แบบดิจิตอล (Digital)

13. เบอร์คนโทรเข้า (Caller ID)

14. เบอร์ปลายทาง (DNIS)

15. FXO

16. FXS

17. PRI

18. E1, T1, J1

19. Asterisk

20. Call Conference

21. Video Conference

22. ATA

23. IP Phone

24. ATA

25. WiFi Phone

26. SIP

27. H.323

28. IAX, IAX2

29. SIP Trunk

30. Gateway Trunk

31. ZAP Trunk

32. DAHDI Trunk

33. Asterisk

35. Elastix
voip4share
Administrator
 
โพสต์: 656
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 พ.ย. 2009 11:26
ที่อยู่: รามคำแหง กรุงเทพฯ

ย้อนกลับไปยัง Elastix - Unified Communications Software

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน