พอดีได้ไอเดียแนวนี้จาก "คุณเก่ง" หน่ะครับ เลยเขียนบทความเผยแพร่จากความเข้าใจของผมเอง ซึ่งผมไม่แน่ใจว่ามันจะถูกต้อง 100% แต่ก็ยังดีกว่าไม่ป้องกันอะไรเลย ด้วยงบประมาณที่ไม่เกิน 1,000 บาทต่อ 10 คู่สาย น่าลงทุนอะไรเช่นนี้....
** ท่านใดที่รู้วิธีที่จะป้องกันให้ได้ผลดีกว่านี้ ราคาพอยอมรับได้ ก็แนะนำได้เลยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ **
ท่านที่กำลังใช้งานการ์ด Analog FXS/FXO หรือ VoIP Gateway/ATA ที่มีพอร์ต FXS/FXO ไม่ว่าจะเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์หรือตู้สาขาก็ตาม หลายๆท่านคงจะยังไม่ทราบว่าพอร์ต FXS/FXO ที่กำลังใช้งานอยู่นั้นกำลังตกอยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยงต่อ "ความเสียหาย" เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะฤดูฝนแบบนี้ด้วย สายโทรศัพท์ที่ผู้ให้บริการลากไปตามเสาไฟฟ้า สะพานลอย อาคารบ้านเรือน มีโอกาสมากที่จะมีแรงดันมหาศาล (ผมเรียกว่า Surge ไม่รู้ถูกป่าว) จากฟ้าฝ่าแทรกเข้ามาในสาย ถึงฟ้าจะไม่ได้ผ่าลงที่สายตรงๆก็เหอะ แรงดันเยอะๆเหล่านั้นก็จะวิ่งไปตามสาย ซึ่งถ้าหากไปเจอกับพอร์ต FXO ของการ์ดหรือของ VoIP Gateway ก็แน่นอนหล่ะครับว่า มันต้องลาโลก 1,000,000% เผลอๆมันยังอาจจะชวน PC, Server ไปพร้อมๆกันด้วย
แต่ถ้าเรามีตัวป้องกันแรงดัน Surge โดยการบายพาสแรงดันลงกราวด์ไปซะ มันก็จะไม่เหลือมาถึงพอร์ต FXO (หรือเหลือมาแต่เล็กน้อยมาก) พอร์ตเราก็จะไม่พังครับ น่าสนใจใช่ป่ะครับ ท่านทำเองได้สบายมาก
** พอร์ต FXS ที่ต่อกับ CO Line ของตู้สาขาก็มีโอกาสพังด้วยนะครับ ถ้าตู้สาขาไม่ได้มีการป้องกันฟ้าฝ่าไว้ **
** พอร์ต FXS ที่ต่อกับเครื่องโทรศัพท์ เครื่อง Fax ผมว่าไม่ต้องป้องกันมันหรอกครับ ปล่อยเอาไว้แบบนั้นแหล่ะ โอกาสพังมีแต่ริบหรี่ **
ตัวอุปกรณ์ที่ผมจะแนะนำให้ใช้เพื่อป้องกันฟ้าฝ่าเข้าพอร์ต FXO นี้เรียกกันว่า "Gas Tube Arrester" มีขายในบ้านเราครับ มีใช้ในวงการติดตั้งโทรศัพท์มานานแล้ว ติดตั้งแล้วไม่ทำให้คุณภาพเสียงดร๊อปลง คอนเฟิร์มครับ สนนราคาก็ไม่แพงครับ ตัวละไม่เกิน 40 บาท ถ้าซื้อเป็นแผงๆละ 10 ตัวอยู่ในตลับอย่างดีก็ไม่น่าจะเกิน 500 บาท
รูปนี้เป็น Gas Tube Arraster มีรูปร่างเป็นหลอดข้างในมี Gas อยู่ แต่ไม่รู้ว่าเป็นชนิดไหนครับ การทำงานของมันคือถ้ามีแรงดันตกคร่อม (ซึ่งก็ต้องหลายๆร้อยโวลต์) มันจะลัดวงจรตัวมันเอง บายพาสลงกราวด์ ขากลางเอาไว้ต่อกราวด์นะครับ แต่เวลาใช้งานค่อนข้างยากเพราะตัวมันเล็กต่อสายลำบาก ข้อดีคือราคาถูก ดีกว่าไม่มีเอาซะเลย
** Box กันฟ้าผ่าที่ TOT/TRUE/TT&T มาติดตั้งให้ตอนที่เราขอเบอร์โทรศัพท์ ข้างในกล่องสีเทาๆนั่นก็คือตัวนี่แหล่ะครับ ไม่เชื่อแกะดูได้เลย **
แบบต่อมาใช้งานง่ายขึ้นแต่ก็ต้องมีแผง MDF (Main Distribution Frame) เรียกว่า Magazine ครับ ข้างในก็มี Gas Tube Arraster อยู่ ใส่ได้มากสุด 10 ตัวต่อแผงครับ
รูปนี้เป็นแบบติดตั้งใน Rack ครับ
แต่อุปกรณ์ที่โชว์ให้ดูนี้ เหมือนว่ามันจะทำงานเฉพาะที่ Surge เข้ามาแรงๆ เป็นพันๆโวลต์ แต่ส่วนมากเวลาฟ้าฝ่ามันไม่ได้ผ่าลงมาบนสายโทรศัพท์ตรงๆ แรงดันมันก็เลยไม่เยอะขนาดนั้นครับ อาจจะน้อยกว่านั้นมากแต่ก็ยังสามารถทำความเสียหายให้กับอุปกรณ์อยู่
มีอุปกรณ์ Surge Protector อีกประเภทหนึ่งซึ่งทำงานผสมผสานกันของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ทำให้สามารถดีเท็คแรงดันในระดับหลักร้อยโวลต์ได้ (หรืออาจจะต่ำกว่านั้น) พวกนี้จะป้องกันได้ 90% ขึ้นไปครับ หน้าตาอุปกรณ์ก็ตามรูปเลยครับ
มาดูรูปร่างหน้าตาของ Ground Rod หรือที่เรียกกันว่า "แท่งกราวด์" บ้างครับ
แท่งกราวด์ทำมาจากทองแดง แต่ที่วางขายตามบ้านเรา (ตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้า ประปา) มันไม่ได้สวยงามอย่างในรูปนะครับ ไม่่รู้ว่ามันจะมีแร่ทองแดงอยู่กี่ % ราคาถูกเกิ้น ไม่ถึงสองร้อยบาท (ที่ความยาว 1.80 เมตร) แต่ก็ใช้ได้นะครับ ดีด้วยอีกต่างหาก
แท่งกราวด์นี้เขาจะตอกลงไปในดินให้เกือบสุด แล้วก็ต่อสายไฟ (สายกราวด์) ลากขึ้นมายังสถานที่จะวางอุปกรณ์ ปลายสายด้านที่ต่อกับแท่งกราว์ดเขาจะบัดกรีหรือไม่ก็เชื่อมให้สายไฟมันติดกับทองแดง ถ้าแค่ขันน๊อตไม่ช้าไม่นานสายกราวด์ก็จะเต็มไปด้วยออกไซด์เขียวๆเต็มไปหมด ทำให้ประสิทธิภาพการไหลของไฟที่จะลงกราวด์มันด้อยลงไปด้วย เวลาตอกแท่งกราวด์ลงดินจะให้มันโผล่แบบในรูปก็ได้หรือว่าจะตอกให้จมดินไปเลยก็ได้ จะได้ไม่มีใครแอบมาถอด
สำคัญคือเรื่อง Grounding ครับ ต้องให้ชัวร์ว่ากราวด์มันใช้ได้จริงๆ ลงทุนอุปกรณ์กันฟ้าดีๆ แพงๆ แต่กราวด์ไม่ดี ก็หาประโยชน์อันใดบ่ได้ครับ
ดูรูปตัวอย่างการติดตั้ง Box กันฟ้าฝ่าของผู้ให้บริการโทรศัพท์รายหนึ่งในต่างจังหวัด (ไม่รู้ว่าเป็น TOT หรือ TT&T) ผมเพิ่งถ่ายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26/08/2555 ที่ผ่านมานี่เอง ที่วัดหลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา ผมว่าเขาไม่ได้ตอกแท่งกราวด์ ซึ่งมันคงตอกยากเพราะว่าพื้นเป็นกระเบื้อง ถ้าเจาะแล้วกระเบื้องอาจจะแตกเสียหายได้
จุดไหนที่ควรจะมี Ground บ้าง
ยังไม่จบครับ เดี๋ยวมาเขียนต่อ มีรูปไดอะแกรมการเชื่อมต่อให้ดูด้วย จะได้ไม่งงครับว่า "ใช้ยังไง"