ในตอนที่ 2 นี้ผมยังไม่นำเสนอการคอนฟิก Elastix ผ่านหน้าเว็บนะครับ เพราะผมอยากให้เพื่อนๆ ได้รู้จักเบสิคการใช้งาน CentOS, Asterisk กันก่อน รวมทั้งเครื่องไม้เครื่องมือ โปรแกรมมอนิเตอร์ต่างๆที่ควรจะติดตั้งเพิ่มเติม เอาไว้ตรวจสอบและแก้ไขปัญหา
1 โปรแกรม SSH Client
เราจะใช้โปรแกรม SSH Client เพื่อรีโมทเข้าไปยังตัว Elastix นะครับเพราะเราคงไม่ได้นั่งอยู่ที่หน้าเครื่องอยู่ตลอดเวลา ถ้าเครื่อง Elastix ต่อกับอินเตอร์เน็ตหรือมีช่องทางให้เรารีโมทเข้าไปได้ (เช่นผ่าน VPN) เราก็สามารถรีโมทเข้าไปที่ Elastix ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม โปรแกรม SSH Client ก็ได้แก่ PuTTY
2 โปรแกรม Text Editor
หมายถึงโปรแกรม Text Editor บน Linux/CentOS นะครับ เอาไว้สร้างและแก้ไขไฟล์ในเครื่อง หัดใช้งานให้คล่องๆ และนี้เป็นวิธีการใช้งานโปแกรม vi นะครับ ผมมีแนะนำการใช้งานไว้แบบสั้นๆเฉพาะที่ใช้งานบ่อยๆ
3 โปรแกรมสำหรับมอนิเตอร์และแค๊ปเจอร์ Network Traffic บน Linux/CentOS
บางครั้งเราก็จำเป็นต้องมาแค๊บเจอร์ทราฟิกบนเครื่อง Elastix นะครับ ซึ่งมันทำให้เรารู้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ปัญหาเกิดจากอะไร เมื่อรู้แล้วก็มาคิดวิเคราะห์ว่าเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร โปรกรมที่ผมชอบใช้ได้แก่โปรแกรม Ngrep และ WireShark สองโปรแกรมนี้นอกจากจะใช้แค๊ปเจอร์ VoIP แล้วยังแค๊ปเจอร์โปรโตคอลอื่นๆได้ด้วยนะครับ เช่น Web, Mail, FTP, MySQL, Radius เป็นต้น พูดได้ว่าโปรโตคอลอะไรที่มีพอร์ต ไม่ว่าจะเป็น TCP หรือ UDP มันแค๊ปเจอร์ได้หมด
4 การรีสตาร์ทโปรแกรม Asterisk
เราอาจต้องรีสตาร์ท Asterisk เช่นเมื่อเปลี่ยนแปลงคอนฟิก (ที่ต้องรีสตาร์ทจึงจะมีผล) หรือเมื่อโปรแกรมไม่ทำงาน หรือทำงานแต่ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ บทความนี้ จะบอกวิธีการทำทั้งหมดครับ
5 ติดตั้งโคเด็ค G.723 และ G.729 โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ
มันจะดีไม่ใช่น้อยเลยนะครับถ้าหากว่า Elastix น้อยๆของเราสามารถใช้โคเด็ค G.723 และ G.729 ได้ด้วย รายละเอียดทั้งหมดอยู่ในบทความ Free G.729 G.723
การคอนฟิก Elastix ตอนที่ 3