** บทความนี้ยังไม่สมบูรณ์นะครับเหลือรายละเอียดนิดๆหน่อยๆ แต่คอนเซ็ปต์หน่ะ 100% แล้ว **
** บทความนี้เหมาสำหรับนักทดลองหรือผู้ที่ต้องการใช้งานและไม่คิดมากเรื่องงบประมาณครับ **
** มีคนโทรมาถามผมว่า ตอนนี้ใช้ตู้สาขาระบบเก่าอยู่ ถ้าอยากบันทึกเสียงที่โทรผ่านตู้สาขาต้องเปลี่ยนระบบโทรศัพท์เป็น IP-PBX หรือเปล่า ผมนึกไม่ออกในตอนนั้น แต่ตอนนี้นึกออกแล้วครับว่า "ไม่จำเป็น" โดยอาจจะใช้ Voice Logger ก็ได้ หรือใช้ Asterisk แทนก็ได้ **
บทความนี้จะแนะนำเทคนิคการคอนฟิก Elastix ให้ทำงานเป็นเครื่องบันทึกเสียงโทรศัพท์ของระบบโทรศัพท์แบบ Analog ครับ ซึ่งจะทำให้ออฟฟิศที่ยังใช้ตู้สาขา PBX แบบ Analog อยู่สามารถบันทึกเสียงพนักงานเวลาโทรเข้า โทรออกผ่านตู้สาขา PBX ได้ คุณสมบัติมีดังต่อไปนี้ครับ
- บันทึกเสียงได้นานตามขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์
- บันทึกเสียงได้หลายฟอร์แม็ตเช่น wav, gsm, g.729
- มีหน้าเว็บให้เปิดเสียงฟัง หรือจะลบทิ้งก็ได้
- มอนิเตอร์ฮาร์ดดิสก์ได้ว่าตอนนี้เหลือเท่าไหร่
- คุณภาพเสียงขึ้นอยู่กับเสียงและคุณภาพสายที่โทรเข้ามา
- สามารถบันทึกเสียงได้ทั้งสาย Analog และ E1
- บันทึกได้หลายคู่สายพร้อมกัน ตามกำลังของพอร์ตที่มีและเสป็คเครื่อง
- บันทึกได้ทั้งตอนโทรเข้าและโทรออก
- โชว์เบอร์คนโทร (ถ้าสายโทรศัพท์เป็นแบบโชว์เบอร์) Caller ID
- ตอนโทรออกจะโชว์เบอร์ปลายทางด้วย
- และยังมีที่ยังนึกไม่ออกอีกครับ...
จะเห็นว่าฟีเจอร์ที่ผมลิสต์มานี้มีอยู่ใน Elastix แล้วทั้งนั้น มาดูรูปการเชื่อมต่อกันครับ
เอา Elastix มาวางคั่นระหว่าง PSTN และ PBX (PABX) ใส่การ์ด 1 FXO + 1 FXS เข้าไป (อัดเสียง 1 เบอร์) ถ้าต้องการอัดเสียง 2 เบอร์ต้องใช้ 2 FXO + 2 FXS ครับ เพิ่มขึ้นทีละ 2 พอร์ตแบบนี้ ดังนั้นถ้าเราใส่การ์ด 16 พอร์ต โดยเป็น 8 FXO + 8 FXS ก็จะบันทึกได้ 8 เบอร์พร้อมๆกัน การเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ให้เอาสายโทรศัพท์จาก PSTN เข้าช่อง FXO ส่วน CO Line ของตู้สาขาให้เอาเข้าช่อง FXS
ฝั่ง PBX ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมครับ มาทำที่ Elastix แทน
1. ติดตั้ง Elastix
จะติดตั้งแบบ 32 บิต (i386) หรือ 64 บิต (x8664) ก็ได้ครับ แล้วแต่ CPU ในเครื่อง
เทคนิคการติดตั้ง Elastix
เทคนิคการติดตั้ง Elastix แบบแบ่งพาร์ติชั่นฮาร์ดดิสก์
2. ติดตั้งการ์ด Asterisk
จะเป็นการ์ดแบบ Analog หรือแบบ Digital ก็ได้แล้วแต่สายโทรศัพท์ที่มีครับ ตัวการ์ดต้องมีอย่างน้อย 2 พอร์ต โดยพอร์ตหนึ่งใช้เป็น Input และอีกพอร์ตเป็น Output
ใส่การ์ด Analog เข้าไปในเครื่อง เข้าหน้า Hardware Detector กดปุ่ม Detect New Hardware หรืออาจต้องติดตั้งไดร์เวอร์ด้วยตามยี่ห้อของการ์ด
บนการ์ดมี 4 พอร์ตตามรูปครับ แต่ผมจะใช้แค่พอร์ต 1 (FXO) และ 2 (FXS) โดยพอร์ต 1 ผมต่อกับสายโทรศัพท์จาก TOT และพอร์ต 2 ต่อกับช่อง CO Line ของตู้สาขา ส่วนอีก 2 พอร์ตที่เหลือคือ 3 และ 4 ผมไม่ได้ใช้งานครับ
3. คอนฟิก Zap Channel DIDs
เพื่อบังคับว่าถ้าโทรเข้ามาที่พอร์ต FXO นี้เราจะให้ออกไปที่ไหน ถ้าไม่ทำแบบนี้มันก็จะมั่วหล่ะครับ
พอร์ต 1 ผมตั้งให้มีเบอร์ DID เป็น 0000 ท่านอาจจะตั้งตามเบอร์โทรศัพท์ที่เอามาต่อก็ได้นะครับ เช่น 021234567
PBX -> Zap Channel DIDs
ทำแค่พอร์ต FXO นะครับ ส่วน FXS เอาไว้ค่อยทำทีหลัง ถ้าเราใช้มากกว่า 1 เบอร์ ก็ต้องใช้ FXO มากขึ้น ให้คอนฟิก Zap Channel DIDs เพิ่มขึ้นตามนะครับ ส่วนเบอร์ DID ก็ตั้งเรียงกันเลยก็ได้ 0000, 0001, 0002,....
4. คอนฟิก Extensions
เป็นเบอร์ Extension ของพอร์ต FXS หน่ะครับ ดังนั้นเลือก DAHDI
พอร์ต FXS เป็นพอร์ตหมายเลข 2
PBX -> Extensions -> Generic DAHDI Device
ระบุ channel เป็นเลข 2 นะครับ เพราะพอร์ต FXS เป็นพอร์ตหมายเลข 2
บรรทัด Record Incoming และ Record Outgoing อย่าลืมเลือกเป็น Always นะครับเพื่อให้เสียงถูกอัดทั้งตอนโทรเข้าและโทรออก
5. คอนฟิก Inbound Routes
คอนฟิกว่าถ้าโทรเข้ามาที่เบอร์ DID นี้ให้เลือก Destination เป็น Extension ของ DAHDI
บรรทัด DID ใส่เบอร์ 0000 ที่เราคอนฟิกไว้ในข้อ 3
บรรทัด Signal Ringing ให้ติ๊กไว้ครับเพื่อให้ระบบส่ง Ringing Signal ไปให้พอร์ต CO ของ PBX ไม่เช่นนั้นตู้ PBX อาจจะไม่รับสาย ส่วนค่าแรงดันที่ส่งออกไปนั้นผมยังไม่รู้ว่าเป็นกี่โวลต์ครับ ว่าจะลองวัดดูสักที
6. โทรทดสอบ
ทดสอบโทรเข้าก่อนหล่ะกันครับ เชื่อมต่อสายโทรศัพท์ให้เรียบร้อย โทรจากภายนอกมาที่เบอร์โทรศัพท์ที่ต่อกับช่อง FXO 1 ของการ์ด สายจะถูกโยนไปที่เบอร์ Extension 8000 ซึ่งก็คือพอร์ต FXS ของการ์ด ตู้ PBX ก็จะรับสายเข้าสู่กระบวนการปกติเสมือนว่าไม่มี Elastix มาคั่นกลาง